วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชินชิล่า

‘ชินชิล่า’สัตว์ตระกูลฟันแทะ ขนปุย ชอบอากาศเย็นสบาย

chinchilas-300x225
เป็นสัตว์เมืองหนาว ลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสัน..
หลายวันก่อน “หลายชีวิต” ไปเดินตลาดนัดสวนจตุจักร โซนสัตว์เลี้ยงเพื่อ “อัพเดท” ข้อมูลว่าช่วงนี้เป็นอย่างไรแล้วก็ต้องยอมรับว่าที่นี่มี “สารพัดสัตว์” มากมายทั้งกลุ่ม “เลือดอุ่น” และ “เลือดเย็น” ที่เกิดในบ้านเรากับ “อิมพอร์ต” เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และ “ชินชิล่า” สัตว์ตระกูลฟันแทะที่กำลังเป็นขวัญใจวัยจ๊าบ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้
“ชินชิล่า” (Chinchilas) เป็นสัตว์เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเทือกเขา Andes แถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ Chinchilla brevicaudata กลุ่มนี้มีลักษณะหูและหางจะสั้น คอและไหล่จะหนา แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
ส่วนชนิดที่ 2 คือ Chinchilla lanigera ยังสามารถพบได้ในป่าจำนวนเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์พวกมันได้เป็นผลสำเร็จ
สำหรับลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสันเช่น เทา เทาอ่อน ดำ เพื่อป้องกันตัวเองจากอากาศหนาวเย็นบนเทือกเขาสูง อุ้งเท้า ธรรมชาติสร้างมาเพื่อเหมาะต่อการเดินบนแผ่นหิน หาง ยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก
ในธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม รักความสงบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งความสามารถในการได้ยินนั้นใกล้เคียงกับคนเรามาก และหากพวกมันได้ยินการเคลื่อนไหวจากศัตรูตัวร้ายอย่าง เหยี่ยว สกังค์ แมวป่า และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ จะส่งเสียงออกมาทั้งเห่า ร้อง และเสียงเอี๊ยดๆ คล้ายเสียงเปิดบานพับของประตู หรือหน้าต่าง เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้
และ…ด้วยธรรมชาติที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะมี นิสัยซุกซน ซอกแซก ช่างสำรวจ ร่าเริง ขี้เล่น กระปรี้กระเปร่า คึกคักชอบกระโดด อยู่ตลอดเวลา ทำความสะอาดขนด้วยการกลิ้งไปมาบนทรายหรือฝุ่นหิน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นตัว…
พวกมันจะพักผ่อนนอนหลับกลางวัน หลังตะวันเริ่มอ่อนแสงยามเย็นจะออกจากที่พัก ซึ่งเป็นโพรงหรือรอยแยกของหิน เพื่อออกหากินหญ้าแห้ง เมล็ดพืชเล็กๆ และแมลง เป็นอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจเห็นร่องรอยการกัดแทะทิ้งประปราย นั่นก็เพราะมันกำลัง “ลับฟัน” ให้คมนั่นเอง
“ขนปุย” โตเต็มที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 400-600 กรัม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ซึ่งการจับคู่นั้น ฝ่ายหนุ่มจะเป็นผู้เลือกเอง แต่หากผู้เลี้ยงยัง “ยัดเยียด” สาวให้ แล้วมันไม่ถูกใจมีสิทธิ์วิ่งฟัดให้ฝ่ายตรงข้ามหนีกระเจิงเอาได้
…หลังได้คู่สมใจแล้วจะหวงมาก ซึ่งพวกมันสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 111 วัน ตกลูกครอกละ 2 ตัว ลูกที่เกิดมาจะมีขนขึ้นเต็มตัวและลืมตา ช่วงที่ยังเล็กจะกินนมแม่ กระทั่งผ่านพ้น 6 สัปดาห์ จึงเริ่มออก “พ้นอก” แม่ เรียนรู้โลกภายนอกและพออายุได้ 6-8 สัปดาห์ จะเริ่มเล็งหาคู่ พวกมันมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารการกินรวมถึงการเลี้ยงดูด้วยเช่นกัน

ทำความรู้จัก ชินชิล่า

ทำความรู้จักกับ ชินชิล่า

ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่ตื่นเวลากลางคืน เหมือนพวก หนูแฮมสเตอร์ เม่นแคระ ชูการ์ หรือสัตว์อื่นๆหลายๆชนิด

โดยลักษณะของขน จะคล้ายๆกับ ชูการ์ไกรเดอร์ ครับจะเป็นเส้นขนระเอียด มีหลายสี
ซึ่งในแต่ละสีก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป

ชื่อ ชินชิล่า(Chinchilas)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Chinchilla lanigera

ถิ่นที่อยู่อาศัย ทวีปอเมริกาใต้ แถบเทือกเขา แอนดิส(Andes) ประเทศอาร์เจนติน่า บราซิล ชิลี บนที่ราบสุง

สถานที่เลี้ยง ต้องไม่โดนแสงแดดโดตรง อากาศถ่ายเทสะดวก อากาศเย็น ควรมีฉนวนกันความร้อน ถ้าร้อนมากควรหาวิธีการระบายความร้อนให้ เช่น เปิดแอร์
chinchila
อาหารหญ้าอัลฟาฟ่า อาหารเม็ด ลูกเกด ห้ามให้อาหารสด นม น้ำมันเด็ดขาด หญ้าอัลฟาฟ่า ควรลดปริมาณลงเมื่อชินชิล่ามีอายุครบ 8 เดือน เพราะอัลฟาฟ่า มีแคลเซียมสูงมาก จะทำให้เกิดการสะสมของแคลเซียม มากไปจนทำให้เกิดนิ่ว ส่วนหญ้าแห้งชนิดอื่นๆสามารถให้ได้ไม่จำกัด

การอาบน้ำใช้ฝุ่นผงภูเขาไฟในการอาบน้ำ

การออกกำลังกาย
ควรปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นนอกกรงวันละ1-2ชั่วโมง
chinchilas
.การเลือกกรง
ชินชิล่าเป็นสัตว์ที่ชอบกระโดด ควรเลือกกรงที่สูงเเละกว้างพอ ปูชั้นล่างด้วยผ้านุ่ม เวลาที่เค้าโดดมาจะได้ไม่เจ็บเท่าไหร่

การเลือกซื้อ
เลือกตัวที่ร่าเริง ขี้เล่น กระปรี้กระเปร่า มีความคึกคักอยู่ตลอดเวลา ดูที่ก้นต้องไม่มีคราบอุจจาระเหนียวๆติดอยู่ ขนไม่ร่วง ตาสดใสไม่ขุ่น

อาหารสำหรับชินชิล่า

การให้อาหารชินชิลล่า

เป็นสัตว์กินพืชเป็นหลักมีระบบการทำงาน และ การย่อยอาหารที่ทางเดินอาหารส่วนท้ายเป็นหลัก เช่นเดียวกับกระต่ายมี ระบบทางเดินอาหารที่เปราะบางมาก ไม่สามารถย่อยอาหารไขมัน และ อาหารหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีถุงน้ำดี ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอ็นไซด์ที่ช่วยย่อยไขมันในอาหารได้ไขมันจึงสะสมในร่างกาย และ ทำให้ตับถูกทำลายได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการให้อาหารที่มีรสหวาน เช่น แอปเปิ้ล องุ่น หรือ เรซิน และ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เมล็ดถั่ว หรือ เมล็ดทานตะวัน เป็นอาหารแก่ชินชิลล่า
ชินชิล่าสัตว์เลี้ยงเมืองหนาว
เราควร ให้อาหารในเวลาเดียวกันทุกวัน ส่วนใหญ่นิยมให้อาหารในช่วงเย็น เนื่องจากช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ ชินชิลล่า มีกิจกรรมมากที่สุด ซึ่งอาหารที่ให้อาจจะประกอบด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่เหมาะสม ควรจะจำกัดอาหารเม็ด ไม่ให้เกินไปกว่าวันละ 1 – 2 ช้อนชาต่อตัว หญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูง ที่ยอมรับ ได้แก่ หญ้าทิโมธี และน้ำสะอาด หญ้าแห้งควรเป็นองค์ประกอบหลัก เนื่องจากมีเยื่อใยสูง ช่วยในกระบวนการเคี้ยว การทำงานที่สมบูรณ์ของทางเดินอาหาร ลดปัญหา ท้องผูก ท้องอืด ท้องเสีย และยังช่วยลับฟันอีกด้วย

อาจจะให้ลูกเกดหรือมะละกอแห้ง ชิ้นเล็กๆ เป็นอาหารได้ แต่ไม่ควรให้มากเกินไปเพราะอาจทำให้ท้องเสียได้ หรือการให้กินในระยะยาวอาจจะทำให้อ้วนได้ การให้ผักสดเป็นอาหารอาจจะทำให้ชินชิลล่าท้องอืดและตายได้ .

การเปลี่ยนอา หารต้องค่อยๆ เปลี่ยน ต้องใช้เวลาหลายๆ วัน ไม่ควรทำการเปลี่ยนในทันที การเปลี่ยนอาหารจะมีผลต่อความเป็นกรดด่าง และปริมาณจุลชีพที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้จุลชีพเหล่านั้นตาย แบคทีเรียที่ก่อโรคจะขยายตัวเกิดปัญหาท้องเสียตามมาได้ ในแต่ละวันสิ่งที่เจ้าของต้องปฏิบัติ คือ การสำรวจมูลหรืออึ เพื่อสังเกตหาความผิดปกติ

แพรี่ด็อก

1-9-2553 19-12-53
มารู้จัก “กระรอกหมา” กันเถอะ!
       "แพรี่ด็อก" (Prairie Dog) หรือที่บางคนเรียกว่า "กระรอกหมา" มีถิ่นกำเนิดบริเวณแถบทุ่งหญ้าแพรี่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ และปัจจุบันพบมากในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในตระกูลสัตว์ฟันแทะ เช่นเดียวกับ พวกกระรอก กระต่าย และหนู
        
   
       ลักษณะเด่นเฉพาะสำหรับแพรี่ด็อก จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ตามที่หลายคนเรียกกันว่ากระรอกหมา เนื่องจากมีเสียงเห่าคล้ายกับสุนัขตัวเล็กๆ เสียงที่แหลมเล็กนี้มีไว้เพื่อป้องกันศัตรู นอกจากนี้ความโดดเด่นของสีขนก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน โดยธรรมชาติจะมีขนสีน้ำตาลทอง ปลายหางมีสีดำ (หางยาว 3-4 นิ้ว) เท้ามีสีครีม ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนักแต่พอโตขึ้นจะมีลำตัวอ้วนกลม เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม (แต่ที่เห็นเจ้าอ้วนมีตัวสีขาวนั้น เนื่องจากความปกติทางพันธุกรรมนั่นเอง)
         
      
       รูปหน้าแพรี่ด็อกคล้ายกระรอกซึ่งมีให้เห็นทั่วไปในเมืองไทย มีใบหูเล็ก ดวงตากลมโต ฟันแข็งแรง ขาคู่หน้าจะมีเล็บที่แหลมคมและแข็งแรง มีหน้าที่ขุดคุ้ยดินเพื่อหาอาหารมากกว่าการล่าสัตว์ด้วยกัน ในตอนกลางวันจะออกหาอาหารซึ่งกินได้ทั้งพืชและสัตว์ จำพวกหญ้า พืชผัก เมล็ดทานตะวัน วอลนัต อัลมอนด์ หนอน แมลงตัวเล็ก ฯลฯ “แต่สำหรับเจ้าอ้วน แพรี่ด็อกสุดรักของสาวเบียร์เขากินได้หมดทุกอย่างแม้กระทั่งทุเรียน!”
         
      
       วันนี้ถือได้ว่าแพรี่ด็อกเป็นสัตว์หน้าตาน่ารัก มีความซุกซน เฉลียวฉลาดและแสนรู้ ใกล้เคียงกับสุนัขและแมว จึงทำให้มันได้รับความสนใจ กระทั่งกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาของคนที่อาศัยอยู่เมืองใหญ่ในปัจจุบัน
         
      
       “แพรี่ด็อก เป็นสัตว์ฟันแทะที่ฉลาดมาก อาจใกล้เคียงกับสุนัข บางคนมองว่าเป็นแค่กระรอกดินแต่ระดับไอคิวของเขาสูงกว่ากระรอกทั่วไปมากเลยนะ สามารถส่งเสียงเรียก จดจำเจ้าของได้ เรียกชื่อมาหา จำทางและสถานที่ได้ ถ้าอยู่ในบ้านเขาสามารถวิ่งขึ้นห้องนอนตัวเองได้ ห้องไหนที่เคยนอนหรือห้องไหนที่เคยอยู่รู้หมด แต่ห้องที่ไม่เคยไปก็จะไม่เข้า”
         
      
       ในวันว่างมันมักออกมาทักทายหมู่เพื่อนในฝูง ซึ่งเวลาที่เจอกันครั้งแรกจะทักทายกันด้วยการ "ยิงฟัน" แล้ว "แตะ" กัน ซึ่งบางคนมองว่าอาการดังกล่าวเหมือนกับคนเราที่ "จูบ" กัน จากนั้นก็จะช่วยกันทำความสะอาดขนให้กันและกัน หรือไม่ก็ขุดรูใต้ดินเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย นอกจากนี้แพรี่ด็อกยังได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดนักก่อสร้าง เนื่องจากเป็นกระรอกที่สามารถขุดโพรงได้ยาวเป็นไมล์เลยทีเดียว
        
       ความฉลาดและความน่ารักในตัวแพรี่ด็อก ลักษณะเชื่องที่คล้ายสุนัข รวมกับนิสัยขี้อ้อนคล้ายกันกับแมว และเป็นสัตว์ค่อนข้างอะเลิทร์ (Alert) สามารถวิ่งได้ทั้งวัน ทำให้หลายคนจึงรู้สึกสนุกสนานเมื่ออยู่ใกล้ชิด และยิ่งเกิดหลงรักเมื่อได้รู้จักลักษณะนิสัยของเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวนี้
      
       ขนสีขาวราคาครึ่งแสน
       จะเห็นได้ว่าลักษณะขนสีขาวหรือสีเผือกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในแพรี่ด็อก แต่มีอัตราส่วนน้อยมากที่จะเป็นแบบนี้ หลายคนอาจคิดว่าดูสวยกว่าขนสีน้ำตาลที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่ลักษณะขนสีขาวแบบเจ้าอ้วนอย่างนี้แฝงมากับพันธุกรรมด้อยซึ่งเป็นความผิดปกติของยีนส์ จึงทำให้แตกต่างจากที่พบเห็นทั่วไป เพราะฉะนั้นจึงหาได้ยากในธรรมชาติ และมีราคาสูงกว่าธรรมดาถึง 7 เท่าเลยทีเดียว
        
      
       สำหรับราคาแพรี่ด็อก ตัวสีน้ำตาลปกติ ขายในราคา 6,500 บาท ส่วนตัวสีขาว มีราคาขายอยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป ราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุแม้จะตัวเล็กหรือใหญ่ก็คงที่ราคาเดียวกันหมด ในแต่ละปีการลด-เพิ่มราคานั้นมาจากค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเป็นหลักซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาด แต่ต้องอยู่ในราคาที่ลูกค้าจับต้องถึง ถ้าขายได้กำไรตัวเดียวแต่ตัวอื่นขายไม่ได้ มันก็เท่านั้นอย่างล็อตนี้นำเข้ามาขาย30 ตัว ประมาณ 2 อาทิตย์ก็หมดแล้ว ขนาดตัวใหญ่อาจมีราคาสูงกว่าตัวเล็กนิดนึง แต่แนะนำให้ซื้อตั้งแต่ตัวเล็กจะดีกว่าเพราะจะได้เรียนรู้นิสัยสัตว์เลี้ยงของเราไปด้วย
         
      
       "แพรี่ด็อก" เป็นสัตว์สังคมจึงมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวผู้คุมฝูง 1 ตัว ต่อตัวเมียประมาณ 4 ตัว มีความพร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะเป็นระยะเวลาของการผสมพันธุ์ ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 28-32 วัน (ประมาณ 1 เดือน) ออกลูกครอกละประมาณ 4-8 ตัว/ปี สมาชิกใหม่วัยแรกเกิดยังไม่ลืมตาและขนยังไม่ขึ้น กระทั่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณเดือนครึ่ง ก็จะลืมตาได้ วัยเด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็ว มีความอยากรู้อยากเห็นและพร้อมที่จะเผชิญโลกกว้างบนพื้นดิน
         
      
       มีอายุขัยประมาณ 10 ปี จึงเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างอายุยืน ซึ่งต่างจากกระต่ายที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 6.5 ปี กลุ่มคนเลี้ยงบางคนคิดว่าการเลี้ยงแพรี่ด็อกคุ้มค่ากับเงินที่ซื้อมา เพราะมันสามารถอยู่กับคนเลี้ยงได้นานกว่าสัตว์ตระกูลฟันแทะอีกหลายชนิด
         
      
       “ตอนนี้เจ้าอ้วนก็อายุปีกว่าแล้ว เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมาก็ติดฮีทซึ่งเป็นวัยผสมพันธุ์ของเขาแล้ว ตั้งแต่เลี้ยงมาเพิ่งมีอายุผสมพันธุ์ได้เป็นปีแรก จึงยังไม่ได้ลูกที่เกิดจากเจ้าตัวนี้เลย”
         
      
       ที่ร้าน Mini Zoo Cafe' ขายแพรี่ด็อกเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน แต่จริงๆ แล้วทางร้านไม่ได้ยึดติดกับเรื่องของอายุที่จะขาย แค่รอให้สัตว์เชื่องมือคนก่อน เพราะถ้าเลี้ยงตัวเล็กๆ แล้วมันไม่เชื่อง เจ้าของอาจโดนกัดได้ เนื่องจากเขี้ยวของลูกแพรี่ด็อก มันเล็กและแหลมมาก รอยกัดจึงเหมือนรอยจุดของรูเข็ม แต่ถ้าเป็นแพรี่ด็อกตัวใหญ่จะกัดไม่เข้า เนื่องจากซี่ฟันใหญ่และมีความหนา เมื่อเลี้ยงจนเชื่อง เจ้าแพรี่ด็อกจะชอบกัดหยอกเล่นกับเจ้าของมากกว่าที่จะกัดอย่างเอาจริงเอาจัง
      
       เลี้ยงง่าย ตายยาก
       ตอนนี้คนเลี้ยงสุนัขหรือแมวเมื่อเห็นแพรี่ด็อกก็อยากได้ไปเลี้ยงบ้าง ด้วยลักษณะการเลี้ยงที่ไม่ยากและแทบจะไม่มีความต่างจากการเลี้ยงสุนัขเฝ้าบ้านตัวหนึ่งเลย แถมยังน่ารักกว่าเสียอีก เหมือนกับว่าเอานิสัยของสัตว์สองชนิดทั้งสุนัขและแมวมารวมกันอยู่ในแพรี่ด็อกตัวนี้เลย
        
      
       แพรี่ด็อกเหมาะสำหรับคนที่อาศัยอยู่ตามคอนโดหรือหอพัก เพราะเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน จะวิ่งเล่นอยู่กับคู่ของมันอย่างเงียบๆ 
       
      
       “แพรี่ด็อกเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายมากและตายยากมาก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากมาย ถ้าเกิดมีธุระไม่อยู่บ้านหลายวัน เราสามารถให้อาหารแห้งทิ้งไว้ได้เลย ประมาณ 3-4 วัน หรืออาทิตย์หนึ่งก็ยังได้นะ เขาเป็นสัตว์ที่ทนมาก เพราะเป็นสัตว์ที่กินน้ำน้อยไม่เหมือนกระต่ายหรือชินชิล่าที่ขาดน้ำไม่ได้ก็จะร้อนตาย”
       
      
       ถ้าใครเคยเลี้ยงกระต่ายหรือแกสบี้มาก่อนจึงไม่ต้องกังวลกับวิธีการเลี้ยง เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะการเลี้ยงที่คล้ายคลึงกัน หลักๆ แพรี่ด็อกกินหญ้าเป็นอาหาร จึงสามารถเลี้ยงด้วยหญ้าแห้งทุกชนิดซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป (ยกเว้นหญ้าอัลฟาฟ่า) สำหรับแพรี่ด็อกแล้วหญ้าอัลฟาฟ่ากินได้ถึงอายุ 6 เดือนก็ควรจะหยุดให้ เพราะอาจจะทำให้เกิดเป็นนิ่วได้ เนื่องจากหญ้าชนิดนี้มีแคลเซียมสูง ถ้าจะให้กินก็ควรจะให้ผลไม้สดที่มีน้ำเยอะอย่างแอปเปิลร่วมด้วย หรือจะเป็นผักสดที่มีน้ำเยอะๆ หน่อยก็ได้ เพราะโดยธรรมชาติแพรี่ด็อกจะไม่ค่อยทานน้ำโดยตรงเท่าไหร่ แต่ไม่ควรเยอะเกินไปเพราะจะทำให้ท้องเสียได้
       
      
       ถ้าเลี้ยงอาหารเม็ดก็เป็นยี่ห้อออกโบว์ที่ใช้สำหรับเลี้ยงแกสบี้โต เพราะไม่มีส่วนผสมของหญ้าอัลฟาฟ่า ฉะนั้นการเลี้ยงด้วยอาหารหยาบๆ จึงเหมาะกับแพรี่ด็อก การเลี้ยงด้วยหญ้าขนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีเพราะหาง่าย และที่สำคัญสารอาหารเยอะกว่าด้วย
       
      
       แพรี่ด็อกจะขับถ่ายเป็นที่เป็นทางซึ่งเจ้าของสามารถสอนได้ ถ้าเนื้อตัวสกปรกก็อาบน้ำให้ประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ เพราะเดี๋ยวจะเป็นโรคหวัด ปอดบวม และเชื้อราบนผิวหนังได้
      
       อิสระนอกกรงขัง
       ตามธรรมชาติแล้วแพรี่ด็อกเป็นสัตว์สังคม ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงมากกว่าอยู่ตัวเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญควรเลี้ยงเป็นคู่ หากเลี้ยงตัวเดียว เจ้าของต้องมีเวลาเอาใจใส่ให้มาก แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเลี้ยงในกรงหรือนอกกรงต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับคนเลี้ยงว่าพยายามเลี้ยงอย่างไรไม่เป็นการฝืนธรรมชาติของสัตว์มากนัก
       
      
       เนื่องจากความเป็นอยู่ของชีวิตผู้คนในสังคมเมือง หลายคนใช้ชีวิตนอกบ้านมากกว่าในบ้านเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์แสนรักไว้ในกรงมากกว่าปล่อยให้ออกมาวิ่งเล่นข้างนอก ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงช่วงเวลายามว่างจึงมีน้อยมาก จนทำให้สัตว์เกิดความเครียดขึ้นได้เมื่อต้องอยู่ในกรงเป็นเวลานาน แต่เมื่อสถานการณ์บังคับจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การสร้างพื้นที่กรงเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่ จึงเป็นทางออกวิธีหนึ่งที่ดีเลยทีเดียว
        
      
       “การเลี้ยงในกรงควรมีขนาดพื้นที่กว้าง หรืออาจเป็นกรงสุนัขไซส์ใหญ่เลยก็ได้ (ขนาด 1.25x2.00x2.10 เมตร) เพื่อให้สัตว์ได้วิ่งเล่น ได้ออกกำลังกาย เพราะเขาเป็นสัตว์พลังเยอะสามารถวิ่งได้ตลอดทั้งวัน ที่สำคัญควรเลี้ยงเป็นคู่ให้เป็นเพื่อนเล่นกัน ควรปูพื้นด้วยหญ้าแห้งหรือซังข้าวโพด หรือถ้าง่ายๆ ก็เป็นผ้าธรรมดาเพื่อป้องกันขาติดซี่กรง เนื่องจากลักษณะของขาค่อนข้างเล็ก เมื่อติดซี่กรงแล้วอาจทำให้ขาหักได้”
       
      
       จริงๆ แล้วการปล่อยให้วิ่งนอกกรงถือเป็นการเลี้ยงที่ดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติของสัตว์เขาไม่ต้องการอะไร นอกจากความเป็นอิสระและอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ถ้าคนเลี้ยงไม่อยู่บ้าน อย่าปล่อยให้วิ่งเล่นนอกกรงโดยไม่มีคนดูแลโดยเด็ดขาด เพราะอาจไปซนกัดสายไฟจนขาด จึงเกิดอันตรายถึงชีวิตน้อยๆ นี้ได้
       
      
       “ลักษณะฟันที่ออกแบบมาเพื่อแทะโดยเฉพาะ จึงแทะทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ถ้ามีคนอยู่เล่นด้วยกันกับเขา ก็จะไม่ไปแทะสิ่งของอะไร ถ้าต้องการเลี้ยงให้อาศัยอยู่เหมือนในธรรมชาติมากที่สุด สามารถเลี้ยงลงบ่อดินได้ แต่ต้องระวังเรื่องการขุดโพรงดินทะลุไปอีกด้านหนึ่ง ถ้าไม่อยากเสียสัตว์เลี้ยงแสนรักนี้ไปก่อนเวลาอันควร”
      
       ถ้าใครสนใจอยากเลี้ยงสัตว์ทนไม้ทนมืออย่างเจ้าแพรี่ด็อก ก็รีบๆ กันหน่อยเพราะในปีหนึ่ง ร้าน Mini Zoo Cafe' นำเข้ามาเพียง30ตัว ภายใน 2 อาทิตย์ก็กระจายไปทั่วประเทศไทยแล้ว สามารถติดต่อสอบถามหรือเลือกซื้อได้ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี โทร. 08-1567-4299
      
       


      
       ช่วงชีวิต                เฉลี่ย 8-10 ปี
       น้ำหนักโตเต็มวัย    2 กิโลกรัม
       วัยเจริญพันธุ์          1 ปี
       ระยะตั้งท้อง           28-32 วัน
       ขนาดครอก           4-8 ตัว/ปี
       อายุหย่านม           3 เดือน

แอฟริกัน ปิ๊กมี่ ดอร์เมาส์

แอฟริกัน ปิ๊กมี่ ดอร์เมาส์ (African pygmy dormouse) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Graphiurus murinus หรือ ฝรั่งบางคนจะเรียกมันว่ากระรอกจิ๋ว (micro squirrels)
ซึ่งถ้าอยากรู้ข้อมูลของเจ้าตัวจิ๋วนี่ควรใช้คำว่า pygmy dormouse และ micro squirrels จะทำให้หาง่ายขึ้น ตามตำราดอร์เมาส์มีหลากหลายชนิดและพบการกระจายในแหล่งใหญ่ ๆ คือญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา แต่ชนิดที่นิยมเลี้ยงคือ African pygmy dormouse จากแถบแอฟริกากลาง ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาญาติวงพงศา และ Edible Dormouse จากทางยุโรปซึ่งมีชื่อมาจากว่าคนโรมันในสมัยโบราณชอบกิน
ดอร์เมาส์มีรูปร่างและลักษณะนิสัยคล้ายไปทางกระรอกมากว่าหนู ขนาดตัวของมันยาวประมาณ 3-4 นิ้ว และมีหางฟูยาวเท่า ๆ กับตัว น้ำหนักของมันน่าจะประมาณ 25-50 กรัม ซึ่งจริง ๆ ก็ควรจะรู้น้ำหนักไว้นิดนึงเผื่อต้องพึ่งพาหมอยามจำเป็น สีขนของดอร์เมาส์จะเป็นสีเทาแบบชินชิลล่า (standard grey) และเท่าที่สังเกตจากเจ้าตัวเล็กของผมมันจะเปลี่ยนสีขนเป็นสีแดงทราย (sand red) เมื่อแก่ขึ้น
เท่าที่อ่านพบตามเว็บต่าง ๆ มักจะบอกว่ามันหากินกลางคืนซึ่งเป็นเวลาที่มันดูจะคึกคักที่สุด แต่มีเอกสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้คาดว่าในธรรมชาติเจ้าพวกนี้อาจจะหากินแทบทั้งวัน โดยเฉพาะตัวที่ยังโตไม่เต็มที่ เพราะป่าที่มันอยู่ในแถบแอฟริกานั้นเป็นป่าดิบชื้น ที่แทบไม่มีแสงส่องลงมาเลย ซึ่งเท่าที่สังเกตก็พบว่ามันไม่ค่อยชอบแสง และหากเรานอนกลางวันและปิดไฟ เจ้าตัวจิ๋วของก็ออกมาหาอาหารใส่ท้องตามปกติ
 
เค้าว่ากันว่ามันมีอายุในกรงเลี้ยงได้ประมาณ 5-6 ปี โดยพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป ในธรรมชาติอาจจะพบดอร์เมาส์อยู่รวมกันมากถึง 20ตัวในครอบครัวเดียว แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่าระบบการเลือกคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติเป็นอย่างไร แต่จากการสังเกตพบว่าเมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกันรุนแรง และแย่งกันผสมพันธุ์ตัวเมีย ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ว่าหนูในธรรมชาติอาจจะอยู่ในลักษณะฮาเร็ม ที่มีตัวผู้ปกครองตัวเดียวและเมื่อลูกตัวผู้โตก็ต้องโดนขับไล่ออกไป หรืออาจจะเหมือนพวกเจอบิวที่ในธรรมชาติจะมีพ่อแม่ต้นสายหลักเพียงคู่เดียวแต่จะช่วยกันเลี้ยงลูกจนโต และตั้งหน้าตั้งตาผลิตต่อไปเรื่อย ๆ
ดอร์เมาส์เป็นสัตว์สังคม จึงควรเลี้ยงรวมเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ส่วนของผมเลี้ยงตัวผู้1ต่อตัวเมีย 2 และคิดว่าไม่ควรเลี้ยงตัวผู้ไว้รวมกันหากมีพื้นที่ไม่กว้างพอ แต่ข้อดีของดอร์เมาส์คือปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนใหม่ได้เร็วมาก แค่คืนเดียวก็ร่วมหอกันได้แบบไม่ one night stand
ถ้าไม่อยากให้ดุต้องป้อนแต่เล็กเราสามารถเลี้ยงให้ดอร์เมาส์คุ้นมือได้ (hand tame, ไม่ใช่เชื่อง หรือ tame เพราะมันไม่เชื่อง ไม่อ้อนคนเลี้ยงหรือสามารถสอนให้เต้นระบำได้ แต่ไม่กลัวการโดนจับ และไม่ตื่นคน)
แต่ต้องเริ่มจากช่วงแรก ๆ คือไม่เกินสามอาทิตย์หลังจากออกจากท้องแม่ ตามประสบการณ์แล้วการนำออกมาช่วง 12-15 วัน ลูกหนูจะคุ้นมือเร็วกว่าแต่อัตราการรอดต่ำและกินนมยากกว่า ดังนั้นควรนำออกมาช่วง 18-20 วันจะปลอดภัยมากกว่า อาหารที่ป้อนคือซีลีแล็คสูตรเริ่มต้น โดยที่อึหนูตอนแยกออกจากแม่จะมีสีดำและค่อนข้างแข็งแต่เมื่อเราเอามาป้อนเองอึจะเหลวและเป็นเมือกมากขึ้นซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่หากมีอาการท้องเสียอึจะมีกลิ่นเหม็นและหนูจะดูอ่อนเปลี้ยกว่าปกติ
เมื่อเอาออกมาแล้วไม่ควรนำกลับไปให้แม่แล้ว เพราะดอร์เมาส์บางตัวโดยเฉพาะพวกที่จับมาจากป่าอาจจะกินลูกเหมือนหนูแฮมเตอร์ แต่ชาวต่างชาติบอกว่าถ้าแม่หนูค่อนข้างคุ้นเคยกับคนการกินลูกจะลดลงและเราไม่ต้องป้อนเองก็ได้ แต่ให้จับลูกหนูมาเล่นบ่อย ๆ ถ้าแม่มันไม่หวงอ่ะนะครับ
ลูกดอร์เมาส์จะหย่านมในอาทิตย์ที่ 5 คือหลังออกจากท้องแม่ราว 30 วัน และไม่ต้องตกใจหากเรายื่นมือลงไปจับแล้วเจ้าตัวเล็กจะงับนิ้วเพราะมันกำลังสำรวจมือเราเหมือนกับที่สำรวจอาหาร เมื่อโตขึ้นและคุ้นเคยกับเรา อาการงับแง๊บๆจะลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยส่วนตัวของมันเอง มันชอบวิ่งไปมาขนตัวเจ้าของมากกว่าจะนั่งนิ่ง ๆ ในมือ และซอกหลืบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปกเสื้อ กระเป๋า และไม่เว้นแม้แต่ซอกอุ่นตรงกลางอกของสาว ๆ ก็เป็นจุดโปรดของเจ้าจิ๋วที่จะวิ่งเข้าไปซุกซ่อนตัวเช่นกัน
เมื่อถึงวัยผสมพันธุ์ตัวผู้จะร้องคริ๊กๆๆๆ สั้น ๆ แต่รัวคล้ายจิ้งหรีด ซึ่งก็น่าจะเป็นการร้องจีบ บทบาทลีลารักดูเหมือนจะรุนแรงหน่อย เพราะตัวเมียมักจะไม่ค่อยยอมนักในตอนแรก ๆ แต่หลังจากนั้นแม่หนูก็จะอ้วนขึ้น และเต้านมเริ่มเห็นชัดเจน ตามตำราว่ามันจะตั้งท้องราว 30-45 วัน ดอร์เมาส์ออกลูกได้ 2-10 ตัว ซึ่งผมเคยได้สูงสุด 8 ตัวในครอกล่าสุด และแม้หลายตำราจะบอกว่ามันมีลูกได้ปีละครั้ง แต่ด้วยอากาศที่เอื้อต่อการผลิตลูกในบ้านเราผมคิดว่าน่าจะมีได้ถึงปีละ 2-3 ครั้ง ซึ่งตามหลักฐานจากบ้านของพี่ที่เป็นเจ้าของต้นสายดอร์เมาส์ของผม ก็มีดอร์เมาส์ตัวแดง ๆ ให้เห็นในตู้ที่เลี้ยงบ่อยครั้งในรอบปี

มีคนกล่าวว่าดอร์เมาส์มีชั้นเชิงสูงยิ่งกว่านินจาในการหาทางหนีออกจากกรงด้วยการรีดตัวผ่านรูหรือช่องเล็ก ๆ ที่เราไม่คิดว่ามันจะทำได้ ดังนั้นกรงเลี้ยงที่ดีที่สุดสำหรับดอร์เมาส์คือตู้ปลาที่ปิดด้วยตะแกรงขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งเราก็หาซื้อตะแกรงลวดมาทำเองได้ในราคาเมตรละไม่ถึงร้อยบาท แต่ระหว่างเวลาที่มันคึกคักมาก ๆ ผากรงจะเป็นที่ที่ถูกใช้มากที่สุดในการปีนป่าย แน่นอนว่าคุณต้องระวังมันให้ดีเลยแหละ

ฝรั่งเค้าว่าตู้ปลาขนาด 20 นิ้วเป็นขนาดเริ่มต้นสำหรับดอร์เมาส์ 2 ตัว แต่ขนาดบ้านที่ใหญ่ขึ้นย่อมเป็นผลดีกับสัตว์ทุกชนิด ผมเองใช้ตู้ขนาด 20 และพึ่งไปเจอตระกร้าใส่น้องหมาที่มีตาข่ายค่อนข้างละเอียด ซึ่งก็ใช้ได้ดี และทำให้อากาศระบายได้สะดวก วัสดุพื้นตู้ที่ใช้ได้ เช่น ฝอยกระดาษ ฝอยกระดาษลัง ขี้เลื่อย ซังข้าวโพดหรือทรายสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ ซึ่งข้อดีข้อเสียมีแตกต่างกัน ความหนาที่เหมาะน่าจะประมาณ 2 นิ้ว และควรใส่หญ้าแห้งหรือเศษไหมพรมไว้ให้มันคาบไปรองรังนอนด้วย

ในธรรมชาติดอร์เมาส์ใช้เวลาส่วนมากปีนป่ายหาอาหารในพุ่มไม้ ดังนั้นกิ่งไม้แห้งที่ทำความสะอาดอย่างดี เชือก และของเล่นไม้สำหรับปีนเล่นจึงน่าจะมีในกรงเลี้ยง ล้อวิ่งก็น่าจะทำให้มันได้เล่นเต็มที่ได้แต่ต้องเลือกชนิดที่ไม่มีซี่ล้อเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหางขาดได้หากวิ่งเร็ว ๆ ส่วนตัวผมใช้กงล้อแบบเล็กสุดของแฮมเตอร์ที่มีลูกปืนทำให้เสียงเงียบและทนทานมากขึ้น

รังนอนที่ทำด้วยกล่องไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สัตว์แทะได้ก็จำเป็นสำหรับหลบนอนในเวลากลางวัน มีผู้แนะนำว่าควรใส่รังนอนให้เกินจำนวนหนูไป หนึ่งรังเสมอ เช่นหากมีดอร์เมาส์ 2 ตัวให้ใส่รังนอน 3 รังเป็นต้น รังนอนที่หาได้ง่าย ๆ เช่นบ้านแฮมเตอร์สำเส็จรูปทั้งไม้และดินเผา กระถางต้นไม้ หรือโอ่งดินเผาขนาดเล็กที่ทุบแบ่งครึ่งก็ใช้ได้ดีและทำความสะอาดได้ง่าย

ถ้วยอาหารของดอร์เมาส์ควรทำด้วยเซรามิก ใบแรกใช้ใส่อาหารชนิดแห้ง และอีกใบสำหรับใส่อาหารเปียก การให้น้ำควรใช้ขวดน้ำแบบปลายลูกกลิ้งซึ่งผมเลือกใช้แบบที่ค่อนข้างแพงเพราะมันจะเจอปัญหาว่าบางยี่ห้อน้ำไม่ไหลเมื่อหนูหิวน้ำและเข้าไปเลียซึ่งอันตรายมาก แต่หากใครมีเวลาดูแลเปลี่ยนน้ำเปลี่ยนอาหาร การเอาน้ำใส่ถ้วยเล็ก ๆ ให้หนูเลียกินเองก็ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

การดูแลและอาหารการกิน
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงดอร์มาส์ คือ ไม่ต่ำกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือราว 24 องศาเซลเซียส เนื่องจากในธรรมชาติหากมีอุณหภูมิต่ำลงดอร์เมาส์จะเริ่มนอนจำศีล ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับสัตว์ที่อยู่ในกรงเลี้ยงซึ่งไม่มีการสะสมอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงเจ้าจิ๋วไว้ในห้องแอร์ และถึงแม้เสียงจะไม่ดังแต่กลิ่นของเสียก็ค่อนข้างแรงเช่นเดียวกับหนูทั่ว ๆ ไป (เหม็นกว่าเจอบิว แต่ไม่เท่าแฮมเตอร์และแกสบี้)

ตามตำราเค้าว่าในธรรมชาติดอร์เมาส์กินอาหารหลากหลายมาก ทั้งพวกเมล็ดพืช ลูกไม้ ถั่ว ไข่นก และแมลง ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมสำหรับดอร์เมาส์ในกรงเลี้ยง คืออาหารสำเร็จรูปสำหรับแฮมเตอร์ ผสมด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นหลัก และเสริมด้วยแหล่งโปรตีนพิเศษ แต่ที่เลี้ยงอยู่ ผมผสมอาหารเองด้วยวัตถุดิบหลายอย่าง เช่น อาหารเม็ดแฮมเตอร์ อาหารเม็ดแกสบี้ อาหารแมวไขมันต่ำ กระดองปลาหมึกตำหยาบ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ลูกเกด ข้าวฟ่าง ข้าวสาร อาหารหมูอ่อน และอาหารไข่แห้ง แล้วเสริมด้วยนมอัดเม็ด โยเกิร์ต น้ำผสมไม้ ผสมไม้สด ซีลีแล็ค ขนมหมากลิ่นไก่ โยเกิร์ต ซีลีแล๊ค นมอัดเม็ด ผลไม้สุก ผักสด ขนมปัง และไม่ต้องกลัวว่าจะไม่กินเพราะมันซัดทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่ปากเป็ดท้อง และแกนแอปเปิ้ล ยกเว้นอันที่ไม่ชอบจริง ๆ ก็ดม ๆ แล้วเมินไปซะ

หลายคนเคยเลี้ยงดอร์เมาส์แล้วไม่ชอบเพราะมันไม่เชื่องสนิทเหมือนสัตว์อื่น ๆ ผมว่าในกรณีนี้มักจะเป็นรุนแรงในดอร์เมาส์ป่า หรือตัวที่ไม่ได้ป้อนและไม่คุ้นเคยกับการสัมผัสจากคนตอนยังเล็ก ซึ่งดอร์เมาส์ที่เป็นลูกป้อนจะลดความตื่นคนลง แต่ด้วยสัญชาติญาณที่เป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ในธรรมชาติทำให้ดอร์เมาส์ค่อนข้างตื่นง่าย ไม่ชอบแสง และไม่ชอบการเคลื่อนไหวที่วูบวาบ ซึ่งหากใครใจเย็นพอที่จะดูแลดอร์เมาส์ในช่วงเล็ก ๆ และให้เวลาเล่นกับเจ้าจิ๋วทุก ๆ วันหรือสองสามวันครั้ง ก็จะทำให้อาการกลัวคนลดลงมาก ซึ่งในบรรดาดอร์เมาส์ของผมก็มีเจ้า “อ้วนอ้วน” ที่คุ้นมือผมมาก เพราะเป็นตัวที่ผมทดลองป้อนตัวแรก ทุกครั้งที่ยื่นมือลงไปในตู้มันก็จะรีบวิ่งขึ้นมา และอยู่นิ่ง ๆ ให้ผมลูบหัวหรือถ่ายรูปอยู่บนมือได้นานสองนานก่อนจะวิ่งตามแขนขึ้นมานอนในปกคอเสื้อ แต่เนื่องจากอ้วนอ้วนมีอาการบวมผิดปกติ คือ ขนาดใหญ่กว่าหนูตัวอื่นเป็นสองเท่า ผมจึงแยกให้อยู่เดี่ยว เพื่อป้องกันการผสมกับตัวอื่น ๆ สาวแก่นางนี้จึงทำหน้าที่เลี้ยงต้อยคอยอยู่กับเด็ก ๆ เวลาที่ต้องแยกกับแม่ออกมาเผชิญโลกแห่งความจริง

เพศของลูกดอร์เมาส์จะดูออกเมื่ออายุเกินหนึ่งเดือนไปแล้ว และถุงหุ้มอัณฑะจะห้อยให้เห็นชัดเจนเมื่ออายุราวสองถึงสามเดือนขึ้นไป